บทที่ 2
พยานหลักฐาน
ประเภทของพยานหลักฐาน
พยานหลักฐานอาจจัดแบ่งออกเป็นประเภทได้หลายลักษณะ
ตามแต่วัตถุประสงค์ของผู้แบ่งและกฎเกณฑ์ที่ใช้แบ่ง
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจในระบบกฎหมายลักษณะพยานดีขึ้น
ในที่นี้จะขอแบ่งประเภทของพยานหลักฐานเฉพาะลักษณะที่สำคัญดังนี้
พยานบุคคล พยานเอกสาร
พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญ
พยานบุคคล คือ
บุคคลที่มาเบิกความต่อศาลด้วยวาจา
พยานเอกสาร คือ ข้อความใดๆ
ในเอกสารที่มีการอ้างเป็นพยาน
พยานวัตถุ คือ
วัตถุสิ่งของที่คู่ความอ้างเป็นพยาน
การอ้างสถานที่ให้ศาลตรวจก้อยู่ในความหมายของพยานวัตถุด้วย
พยานผู้เชี่ยวชาญ คือ
พยานบุคคลซึ่งเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาใด สาขาหนึ่ง
และมาเบิกความโดยการให้ความเห็น
การแบ่งพยานหลักฐานตามวิธีนี้เป็นการแบ่งตามวิธีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบซึ่งมีกฎเกณฑ์ต่างกันระหว่างพยานหลักฐานทั้ง
4
ประเภทนี้
วิธีนี้เป็นวิธีการแบ่งประะเภทของพยานหลักฐานที่ใช้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2. พยานชั้นหนึ่งและพยานชั้นสอง
พยานชั้นหนึ่ง หมายถึง
พยานหลักฐานชิ้นที่ดีที่สุดในบรรดาพยานหลักฐานทั้งหลายที่มุ่งพิสูจน์ข้อเท็จจริงข้อหนึ่ง
พยานชั้นสอง หมายถึง พยานหลักฐานในลำดับรองลงมา
การแบ่งประเภทของพยานหลักฐานวิธีนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างพยานหลักฐานหลายชิ้นที่มุ่งพิสูจน์ข้อเท็จจริงเดียวกัน
มีที่มาจากหลักของกฎหมายอังกฤษที่เรียกว่า กฎแห่งพยานที่ดีที่สุด (Best evidence rule) ซึ่งวางหลักว่าคู่กรณีจะต้องนำพยานที่ดีที่สุดมาพิสูจน์
โดยหลักนี้ทำให้ศาลไม่ยอมรับฟังพยานบอกเล่าถ้ายังมีประจักษ์พยานไม่ยอมรับฟังสำนาของเอกสารถ้ายังมีต้นฉบับ
และไม่รับฟังการสืบลายมือในเอกสาร โดยผู้เชี่ยวชาญถ้าตัวผู้เขียนยังมีอยู่
แต่ต่อมาความเห็นของนักกฎหมายก็เปลี่ยนไปจนปัจจุบันกลายเป็นหลักว่าพยานชั้นที่สองให้รับฟังได้
แต่การที่ไม่นำพยานที่ดีที่สุดมาสืบนั้นเป็นเพียงแต่กระทบกระเทือนต่อน้ำหนักแห่งพยานหลักฐานนั้นเท่านั้น1
ในกฎหมายลักษณะพยานของไทยมีบทบัญญัติหลายมาตราที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับกฎแห่งพยานที่ดีที่สุด
เช่น การอ้างพยานเอกสารต้องอาศัยต้นฉบับ หรือการห้ามรับฟังพยานบอกเล่าเป็นต้น
แต่โดยทั่วไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 85 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 มิได้ห้ามรับฟังพยานชั้นสอง
บางกรณีศาลจึงอาจรับฟังพยานชั้นสองได้เท่าที่จำเป็น เช่น พยานชั้นหนึ่งตาย
หรือไม่อาจหาตัวได้ เป็นต้น
3. พยานโดยตรงกับพยานประพฤติเหตุแวดล้อมกรณี
พยานโดยตรง (Direct Evidence) หมายถึง
พยานหลักฐานที่มุ่งพิสูจน์ข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นประเด็นพิพาทในคดีโดยตรง ดังนั้น
ถ้าศาลเชื่อพยานโดยตรง
ศาลก็สามารถสรุปได้ว่าข้อเท็จจริงที่พิพาทกันเป็นดังที่พยานพิสูจน์โดยไม่ต้องค้นคว้าเหตุผลสันนิษฐานอะไรอีก
เช่น ประเด็นพิพาทในคดีมีว่า ก. ใช้มีดแทง ข. หรือไม่ พยานที่เห็น ก.
กำลังใช้มีดแทง ข. เป็นพยานโดยตรงถ้าศาลเชื่อว่าพยานคนนี้พูดจริง
ศาลก็สรุปได้เลยว่า ก. แทง ข.
พยานประพฤติเหตุแวดล้อมกรณี (Circumstantial Evidence) หรือพยานแวดล้อมนั้น
หมายถึง พยานหลักฐานที่มุ่งพิสูจน์ข้อเท็จจริง
ซึ่งมิได้เป็นประเด็นพิพาทในคดีโดยตรง หากแต่พิสูจน์ข้อเท็จจริงอื่นที่บ่งชี้ว่า
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นพิพาทน่าจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น
เช่นคดีมีประเด็นพิพาทว่า ก. แทง ข. หรือไม่ ค. เป็นพยานที่เบิกความว่า
เวลาเกิดเหตุเห็น ก. วิ่งผ่านไป มือถือมีดซึ่งมีโลหิตสดๆ และได้ยินเสียงร้องของ ข.
ดังนี้ แม้ศาลจะเชื่อว่า ค. พูดจริงก็ยังไม่อาจสรุปได้ทันทีว่า ก. แทง ข.
เพราะอาจมีความเป็นไปได้แม้จะเป็นส่วนน้อยว่า ก. ถือมีดวิ่งมาในขณะนั้น โดย ก.
ไม่ได้แทง ข. ค. เป็นเพียงพยานที่บ่งชี้ว่า ก. น่าจะเป็นคนแทง ข. เท่านั้น
ศาลจะต้องพิจารณาปากนี้ร่วมกับพยานอื่นๆ ว่าเพียงพอหรือไม่ที่จะสรุปว่า ก. แทง ข.
การแบ่งประเภทของพยานหลักฐานวิธีนี้พิจารณาจากความใกล้ชิดของข้อเท็จจริงที่พยานมุ่งพิสูจน์กับประเด็นพิพาทในคดี
กล่าวคือ ถ้าข้อเท็จจริงใกล้ชิดจนเป็นอันเดียวกับประเด็นพิพาท
พยานที่มุ่งสืบข้อเท็จจริงนั้นก็เป็นพยานโดยตรง
แต่ถ้าข้อเท็จจริงมิได้เป็นอันเดียวกับประเด็นพิพาทพยานที่มุ่งพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้นเป็นพยานแวดล้อม
ประจักษ์พยานและพยานบอกเล่า
ประจักษ์พยาน (Eyewithess) หมายถึง
พยานบุคคลที่ได้สัมผัส (perceive) ข้อเท็จจริงที่จะเบิกความมาด้วยตนเอง เช่น แดงเบิกความว่าเห็น ก. แทง ข.
ดังนี้ แดงเป็นประจักษ์พยาน
พยานบอกเล่า (Hearsay) หมายถึง
พยานบุคคลที่มิได้สัมผัสข้อเท็จจริงที่เบิกความมาด้วยตนเองแต่รับทราบมาจากการบอกเล่าของบุคคลอื่น
หรือจากบันทึกที่บุคคลอื่นทำไว้ เช่น ดำเบิกความว่าแดงเล่าให้ฟังว่า เห็น ก. แทง
ข. ดังนี้ ดำเป็นพยานบอกเล่า
การแบ่งประเภทของพยานหลักฐานตามวิธีนี้พิจารณาจากความใกล้ชิดระหว่างพยานหลักฐานกับข้อเท็จจริงที่พยานมุ่งพิสูจน์
ถ้าพยานได้สัมผัสข้อเท็จจริงมาด้วยตนเองก็เป็นประจักษ์พยานแต่ถ้าพยานมิได้สัมผัสข้อเท็จจริงเองแต่รับทราบมาจากบุคคลอื่นก็เป็นพยานบอกเล่า
การรับฟังพยานหลักฐาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้แบ่งแยกพยานหลักฐานออกตามวิธีการนำสืบเป็น 4 ประเภท พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญ
มีหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานทั้ง 4 ชนิดแตกต่างกัน พิจารณาได้ดังนี้
พยานบุคคล
พยานบุคคล หมายถึง
บุคคลที่มาให้การด้วยปากต่อหน้าศาล2 ตามนิยามนี้ พยานบุคคลก็คือ ตัวคนที่รู้เห็นเหตุการณ์อันเป็นข้อเท็จจริงในคดี
และได้มาเบิกความต่อหน้าศาลในฐานะพยาน ซึ่งเป็นความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
แต่มีนักกฎหมายบางท่านนิยามว่าพยานบุคคล หมายถึง
ถ้อยคำของบุคคลที่มาให้การต่อหน้าศาล และศาลได้จดบันทึกข้อความไว้ในสำนวนความ 3 นิยามหลังนี้มุ่งหมายถึง “ถ้อยคำที่ศาลจดลงไว้ในสำนวนความ” เป็นหลักมิได้มุ่งถึงตัวคน เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า
ความเห็นของนักกฎหมายดังกล่าวถูกต้องทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ
ถ้ามองตามความเข้าใจของคนธรรมดาพยานบุคคลก็ควรจะหมายถึงตัว “คน” ที่รู้เห็นเหตุการณ์
แต่ถ้ามองตามความเข้าใจของผู้พิพากษาที่กำลังจะตัดสินคดีว่าจะจำแนกพยานที่อยู่ต่อหน้าเป็นพยานบุคคล
พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ
พยานบุคคลก็ต้องหมายถึงถ้อยคำของบุคคลซึ่งศาลจดลงไว้ในสำนวนความ ไม่ใช่ตัวคน
เพราะขณะนั้นตัวคนซึ่งมาเบิกความมิได้อยู่ต่อหน้าศาลแล้ว
พยานเอกสาร
พยานเอกสาร หมายถึง ข้อความใดๆ
ในเอกสารที่มีการอ้างอิงเป็นพยาน โดยอาศัยการสื่อความหมายของข้อความนั้นพิสูจน์ความจริง
แต่การอ้างเอกสารเป็นพยานมิใช่หมายความว่าจะเป็นพยานเอกสารเสมอไป
การอ้างข้อความตอนหนึ่งในเอกสารเพื่อพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงเกิดขึ้นตามข้อ
ความนั้น ดังนี้ เป็นพยานเอกสาร
แต่ถ้าอ้างลงลายมือชื่อในเอกสารเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นลายมือที่จำเลย
ทำปลอมขึ้นในความผิดปลอมเอกสารหรืออ้างหนังสือทั้งเล่มเพื่อแสดงว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์
ดังนี้เป็นการอ้างในฐานะวัตถุพยาน
พยานวัตถุ
พยานวัตถุคือ สิ่งของใดๆ
ที่คู่ความอ้างอิงให้ศาลตรวจดูเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับพยานเอกสารแล้วจะเห็นได้ว่า
เอกสารฉบับหนึ่งอาจเป็นพยานเอกสารหรือพยานวัตถุก็ได้สุดแต่วัตถุประสงค์ของการอ้าง
ถ้าเป็นการอ้างเพื่อให้ศาลดูข้อความในเอกสารก็เป็นพยานเอกสาร
แต่ถ้าเป็นการอ้างเพื่อให้ศาลดูรูปลักษณะของเอกสารก็เป็นพยานวัตถุ
พยานวัตถุมีความสำคัญมากในคดีอาญา
เพราะเป็นพยานที่ดีที่สุดในการพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงบางประเด็นได้เกิดขึ้น เช่น
ยาเสพติด หรือไม้ของกลางในคดี ปลอกกระสุนปืน บาดแผลที่ถูกทำร้าย สถานที่เกิดเหตุ
ส่วนในคดีแพ่งส่วนมากอาจเป็นการไปตรวจดูที่ดินพิพาทเพื่อดูหลักเขตที่ฟ้องร้องกัน
การรับฟังพยานวัตถุไม่มีข้อจำกัดโดยกฎหมาย
ดังนั้น
พยานวัตถุที่มีการอ้างอิงในบัญชีพยานโดยถูกต้องตามระเบียบแล้วก็สามารถนำเข้าสืบได้เสมอ
และไม่มีข้อบังคับว่าข้อเท็จจริงใดจะต้องพิสูจน์ด้วยพยานวัตถุ
หรือห้ามพิสูจน์ด้วยพยานวัตถุ จึงอยู่ในดุลพินิจของคู่ความที่จะพิจารณาว่า
ควรนำสืบข้อเท็จจริงด้วยพยานวัตถุหรือไม่
พยานผู้เชี่ยวชาญ (Expert
witness)
พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานบุคคลประเภทหนึ่ง
แต่มาเบิกความในลักษณะแสดงความเห็นมิใช่เป็นความจากการประสบพบเห็นข้อเท็จจริงและนำมาเล่าให้ศาลฟัง
เช่นแพทย์ซึ่งตรวจบาดแผลของผู้เสียหายมาเป็นพยาน ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นว่าบาดแผลเกิดจากอะไร
ดังนั้น
พยานผู้เชี่ยวชาญจึงไม่มีปัญหาว่าจะได้พบเห็นข้อเท็จจริงมาด้วยตนเองหรือไม่ดังเช่นพยานบุคคล
เงื่อนไขในการรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญมีดังนี้
1) ประเด็นข้อพิพาทเป็นปัญหาซึ่งคนธรรมดาไม่อาจตัดสินใจได้โดยใช้ความรู้
ความสามารถ หรือประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของวิญญูชน
เพราะประเด็นนั้นเกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือวิทยาการเฉพาะแขนง
ซึ่งจะตัดสินใจได้ก็แต่เฉพาะโดยผู้เชี่ยวชาญ
เท่านั้นกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ศาลจะไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในปัญหาที่สามารถตัดสินได้ โดยความรู้ของคนธรรมดาสามัญ4 เช่น
(1) กฎหมายไทย ศาลไม่ยอมรับฟังเลย
เพราะเป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง และศาลเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายอยู่แล้ว
คู่ความจะนำวิชาการหรือศาสตราจารย์ในวิชากฎหมาย
หรือแม้แต่ผู้ร่างกฎหมายฉบับนั้นเองมาสืบว่ากฎหมายฉบับนั้นมีเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายอย่างใด เพื่อช่วยในการตีความกฎหมายก็ไม่ได้
(2) ภาษาไทย หมายถึง
ภาษาไทยที่มีความธรรมดา
คู่ความจะอ้างผู้เชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์แสดงความเห็นอธิบายภาษาไทยธรรมดาไม่ได้
(3) ศีลธรรม
หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลรู้ได้เอง คู่ความไม่อาจอ้างผู้เชี่ยวชาญมาแสดงความเห็นได้
เช่น มีประเด็นว่าภาพที่จำเลยตีพิมพ์เป็นภาพลามกอนาจารหรือไม่
โจทก์จะนำพยานมาสืบว่าเป็นภาพลามกไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง
แต่จำเลยอาจนำพยานมาสืบได้ว่า ภาพนี้เป็นภาพศิลปะ
เพราะศิลปะเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งอาจอ้างผู้เชี่ยวชาญมาแสดงความเห็นได้
(4) จรรยามารยาท จารีตประเพณีที่รู้กันทั่วไป เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป
จึงไม่อาจนำพยานมาสืบได้ แม้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ
2) พยานผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาการแขนงที่เป็นปัญหาความรู้ความชำนาญนี้อาจจะได้มาจากการศึกษาเล่าเรียนจนได้ปริญญา
หรือประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองอื่นๆ
หรืออาจได้จากการทำงานในสาขานั้นมาเป็นเวลานานจนมีความชำนาญก็ได้ เช่น ผู้ใหญ่บ้าง
แม้ไม่ใช่ผู้ชำนาญการพิเศษ แต่มีอาชีพทางทำนา มีกระบือหลายตัว
ก็สามารถรู้ลักษณะของกระบือตาถั่วและตาฝ้าแตกต่างกันอย่างไร สามัญชนพอจะเห็นข้อแตกต่างกันได้
จึงรับฟังเป็นพยานในข้อตำหนิกระบือดังกล่าวได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1610/2498) แม้ในตัวบทกฎหมายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 98 จะระบุแขนงของศาสตร์ที่จะมีความรู้เชี่ยวชาญได้ว่า ได้แก่ศิลปะ วิทยาศาสตร์
การฝีมือ การค้า หรือการงานที่ทำ หรือกฎหมายต่างประเทศ
ก็ไม่น่าจะถือว่าเฉพาะในศาสตร์เหล่านี้เท่านั้นจะมีผู้เชี่ยวชาญได้
ควรถือเป็นเพียงตัวอย่างที่กฎหมายยกมาให้ดูเท่านั้นยิ่งถ้าพิจารณาในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา
243 ซึ่งใช้คำว่า
เช่น และระบุตัวอย่างอื่นที่ไม่ปรากฎในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 98 ด้วยแล้ว
ยิ่งน่าจะทำให้เห็นว่าควรตีความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 98 ในทางกว้าง และใน
0 comments:
Post a Comment