บทที่ 1
บทนำ
ความหมายของพยานหลักฐาน
พยานหลักฐาน
หมายถึงสิ่งที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวอ้าง
ในการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ส่วนมากแล้วจะมีคู่ความสองฝ่าย คือ
โจทก์และจำเลย1 ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็จะกล่าวอ้างข้อเท็จจริงต่างๆ
มาในคำฟ้องและคำให้การเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวหาและข้อกล่าวแก้ของตน
ข้อเท็จจริงต่างๆ เหล่านี้ย่อมจะตรงกันบ้างและขัดแย้งกันบ้าง
ถ้ากระบวนพิจารณาจบสิ้นเพียงเท่านั้น ศาลย่อมไม่สามารถจะชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด
เพราะศาลไม่มีทางจะทราบได้ว่าฝ่ายใดพูดจริงฝ่ายใดพูดเท็จ2
ฉะนั้น
คู่ความแต่ละฝ่ายจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาทางพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของตนให้ศาลเชื่อ
ซึ่งได้แก่การนำพยานหลักฐานมาแสดงยืนยันข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างนั่นเอง
ระบบกฎหมายลักษณะพยาน
ระบบกฎหมายลักษณะพยาน
หรือกระบวนการค้นคว้าข้อเท็จจริงในทางคดีนั้นแบ่งออกได้เป็น 2
ระบบคือ
1 ระบบไต่สวน (Inquisitorial
System)
2 ระบบกล่าวหา (Accusatorial
System)
ระบบไต่สวน มีที่มาจากวิธีการชำระความขอผู้มีอำนาจในศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก
เมื่อผู้มีอำนาจปกครองดูแลได้ทราบว่ามีการกระทำความผิดหรือการกระทำอันมิชอบเกิดขึ้นในสังคมของตน
ผู้มีอำนาจปกครองจะต้องไต่สวนค้นหาข้อเท็จจริงให้ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีผู้
อาจมีคดีแพ่งบางชนิดที่มีคู่ความฝ่ายเดียว
ซึ่งเรียกว่า คดีไม่ข้อพิพาท แม้กระนั้นศาลก็ยังต้องไต่สวนคำร้องและผู้ร้องในคดีไม่มีข้อพิพาท
ก็ยังต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของตนอยู่ดี
ในคดีแพ่งที่โจทก์จำเลยต่างแถลงงดสืบพยานทั้งคู่
และให้ศาลตัดสินไปตามคำฟ้องของตน
ศาลก็อาจตัดสินคดีได้โดยพิจารณาว่าใครมีภาระการพิสูจน์ เพราะฝ่ายมีภาระการพิสูจน์แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ต้องแพ้คดีไป
ส่วนคดีอาญานั้นถ้าไม่มีการสืบพยานเลยปกติศาลจะต้องตัดสินใจให้โจทก์แพ้
เว้นแต่จำเลยจะรับสารภาพ
เสียหายหรือบุคคลอื่นมากกล่าวหาหรือไม่
และการหาตัวผู้กระทำผิดก็ไม่มีหลักเกณฑ์ในการไต่สวนหรือวิธีพิจารณาเคร่งครัด
เพราะมุ่งแต่จะเอาผลที่จะได้รู้ถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากกว่า3
จึงอาจมีการใช้วิธีทรมานจำเลยด้วยประการต่างๆ
เพื่อให้จำเลยยอมรับสารภาพและเล่าข้อเท็จจริงทั้งหมดให้ผู้ชำระความฟังการพิจารณาอาจกระทำลับหลังจำเลย
คือ การสืบพยานอาจทำโดยจำเลยไม่มีโอกาสรู้เห็นก็ได้
เพราะถือว่าผู้ชำระความสามารถให้ความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิให้จำเลยอยู่แล้ว4
ระบบนี้มีอิทธิพลอยู่ในภาคพื้นยุโรปซึ่งเดิมเคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของสันตปาปาแห่งกรุงโรม
และต่อมาก็มีบทบาทสำคัญในประเทศต่างๆ ในภาคพื้นยุโรปที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย เช่น
ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ
ต่อมาเมื่อระบบการทรมานจำเลยหมดไปและนักกฎหมายเริ่มค้นหาข้อเท็จจริงโดยทางพยายนหลักฐาน
ระบบนี้ก็คลี่คลายไปในทางค้นหาความจริงโดยมีการนำพยายานสืบ
แต่ยังคงเอกลักษณะเดิมอยู่ คือศาลมีหน้าที่ค้นห้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆ
ทั้งที่คู่ความนำเสนอต่อศาล หรือศาลเห็นสมควรเรียกมาสืบเอง
และไม่มีบทกฎหมายวางระเบียบการสืบพยาน
หรือไม่มีบทตัดพยานโดยเคร่งครัดว่าพยานประเภทนี้รับฟังได้
พยานประเภทนั้นรับฟังไม่ได้ ดังนั้น
ศาลมักจะรับพยานหลักฐานทุกชิ้นเข้าสู่สำนวนความ
และจะไปพิจารณาละเอียดตอนชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าพยานชิ้นใดควรมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
ระบบไต่สวนมีลักษณะสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
) ศาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพิจารณาคดี
มีอำนาจที่จะสืบพยานเพิ่มเติมหรืองดสืบพยาน
ทั้งนี้เพื่อค้นหาให้ได้ข้อเท็จจริงใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
การกำหนดระเบียบวิธี (Technicality)
เกี่ยวกับการสืบพยานมีน้อย
ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจได้กว้างขวางและยืดหยุ่นได้มาก
) การพิจารณาคดีโดยเฉพาะในคดีอาญา
จะมีลักษณะเป็นการดำเนินการระหว่างศาลกับจำเลย โจทก์จะไม่มีใครมีบทบาทสำคัญมาก
เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือศาลให้การค้นคว้าหาพยานหลักฐาน
ส่วนระดับของความช่วยเหลือที่โจทก์กับศาลจะร่วมมือกันมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละประเทศ เช่น
ในประเทศฝรั่งเศสพนักงานอัยการอาจขึ้นนั่งซักถามพยานบนบัลลังก์เคียงคู่ผู้พิพากษาได้5
ประมูล สุวรรณศร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่
8 (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์, 2526) หน้า 2
ชวเลิศ โสภณวัต, กฎหมายลักษณะพยานของไทยเป็นกฎหมายในระบบกล่าวหาจริงหรือ
ดุลพาห ปีที่ 28 เล่ม 6 พ.ศ. 2524 หน้า 38.
ประมูล สุวรรณศร, เรื่องเดิม, หน้า
) ในระบบไต่สวน
มักจะไม่มีกฎเกณฑ์การสืบพยานที่เคร่งครัดมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จะไม่มีบทตัดพยาน (Exclusionary
rule) ที่เด็ดขาด
แต่จะเปิดโอกาสให้มีการเสนอพยานหลักฐานทุกชนิดมาสู่ศาลได้ และศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจได้อย่างกว้างขวาง
ระบบกล่าวหา เป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในประเทศระบบกฎหมาย Common law เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา
ระบบนี้สืบเนื่องมาจากการที่บุคคลนำเรื่องราวมาฟ้องร้องว่กล่าวบุคคลอีกคนหนึ่งต่อผู้มีอำนาจ
เพื่อให้ผู้มีอำนาจชำระคดีแก่ตน
การพิจารณาชี้ขาดว่าฝ่ายใดผิดหรือถูกจึงมิได้อยู่ที่การนำพยานมาพิสูจน์ความจริงแต่สำคัญอยู่ที่ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ปฏิบัติตามกติกาซึ่งผู้พิพากษาวางไว้ได้ครบถ้วนกว่ากัน
การพิจารณาในระบบนี้ ผู้ชำระความต้องวางตัวเป็นกลางจริงๆ
เพื่อควบคุมให้คู่ความทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด
ต่อมาวิธีพิจารณาได้วิวัฒนาการ มาเป็นเกณฑ์การนำพยานเข้าสืบ
แต่เอกลักษณ์ของระบบนี้ก็คงปรากฏอยู่ คือผู้พิพากษาต้องวางตัวเป็นกลางเคร่งครัด
จะเอนเอียงเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้
และอำนาจของศาลในการสืบพยานเพิ่มเติมหรือตัดพยานก็มีจำกัดหรือแทบไม่มีเลย
ต้องปล่อยให้คู่ความดำเนินคดีหาพยานหลักฐานเต็มที่
และหลักเกณฑ์ในการที่จะนำพยานอย่างไรมาพิสูจน์ได้หรือไม่ได้เป็นไปโดยเคร่งครัด
มีบทตัดพยานที่เด็ดขาดเพื่อมิให้พยานที่ต้องห้ามเข้าสู่สำนวนความ
เท่ากับเป็นการไม่สืบพยานนั้นเลย6 ทั้งนี้เพื่อมิให้ทั้งสองฝ่ายได้เปรียบเสียเปรียบแก่กัน
ดังนั้นระบบกล่าวหาจึงเป็นระบบที่วิธีการชำระความเป็นไปในทางที่มีโจทก์มีจำเลย
ผู้ชำระตั้งตนเป็นกลางคอยดูแลให้ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินคดีของตนไปตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางขึ้นไว้โดยเคร่งครัด
ระบบกล่าวหามีลักษณะสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
) ศาลมีบทบาทจำกัดเป็นเพียงผู้ตัดสินคดีเท่านั้น
ไม่มีอำนาจในการสืบพยานเพิ่มเติมหรือช่วยคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสวงหาพยานหลักฐาน
การดำเนินการพิจารณามีกฎเกณฑ์ ละเอียดปลีกย่อยมาก ศาลใช้ดุลพินิจได้น้อย
การยกฟ้องโดย technicality
มีมาก
) คู่ความสองฝ่ายมีบทบาทสำคัญเป็นคู่ต่อสู้ซึ่งกันและกันเห็นได้ชัด
ในคดีอาญาศาลจะไม่ช่วยโจทก์แสวงหาพยานหลักฐาน ดังนั้น บางครั้งศาลอาจยกฟ้องทั้งๆ
ที่ปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดก็ได้
จรัญ ภักดีธนากุล, บทตัดพยานบอกเล่าในกฎหมายไทย, วารสารกฎหมายจุฬาลงกรณ์ ปีที่ 6
ฉบับที่ 3 หน้า 1-2
7ในประเทศสหรัฐอเมริกา
การพิจารณาคดีอาญามีหลัก exclusionary
rule ซึ่งศาลปฏิเสธไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาจากการจับหรือค้นที่ไม่ชอบ
ดังนั้น แม้โจทก์จะมีพยานแจ้งชัดว่าจำเลยทำผิด ศาลอาจไม่ยอมรับฟังพยานนั้น
และยกฟ้องโจทก์ เพราะโจทก์ไม่มีพยานก็ได้
) ในระบบกล่าวหา
มีกฎเกณฑ์การสืบพยานที่เคร่งครัดมาก ศาลมีโอกาสใช้ดุลพินิจได้น้อย
มีบทตัดพยานเด็ดขาดไม่ยอมให้ศาลรับพยานนั้นเข้าสู่สำนวนความเลยนอกจากนั้น
การใช้คำถามในการซักถาม ถามค้าน ก็ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์โดยเคร่งครัด
ระบบทั้งสองที่กล่าวมานั้นเป็นวิธีการของศาลในอดีต
แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมานานเข้าแต่ละระบบก็มีการพัฒนาวิธีการค้นหาข้อเท็จจริงของตนมาเป็นลำดับ
และมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจุดบกพร่องของแต่ละระบบมาโดยตลอด
จนถึงปัจจุบันจะเป็นได้ว่าระบบทั้งสองต่างก็คลี่คลายเข้าหากัน ทำให้หลักกฎหมายของประเทศต่างๆ
มีแนวโน้วที่จะนำข้อดีของทั้งสองระบบมารวมกันสร้างเป็นกฎเกณฑ์ในทางลักษณะพยานขึ้นใหม่
เรียกว่า ระบบผสม (Mixed
System) ประเทศฝรั่งเศส
ภายหลังการปฏิวัติใหญ่เป็นประเทศแรกที่นำข้อดีของทั้งสองระบบมาสร้างเป็นระบบผสมขึ้นและประเทศอื่นๆ
ในยุโรปก็ได้ดำเนินการตาม
ความเป็นมาของกฎหมายลักษณะพยานของไทย
กฎหมายลักษณะพยาน คือ
กฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยพยานหลักฐานว่าในคดีแต่ละคดีนั้นมีข้อเท็จจริงใดบ้างที่จะต้องมีการพิสูจน์ใครเป็นผู้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์
พยานหลักฐานชนิดใดบ้างซึ่งอาจเสนอต่อศาลและศาลรับฟังได้
กระบวนพิจารณาในการนำพยานหลักฐานเข้าสู่ศาลและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานกฎหมายลักษณะพยานจัดอยู่ในประเภทกฎหมายวิธีสบัญญัติ
แต่เดิมมาประเทศไทยได้รับอารยธรรมจากอินเดีย
โดยผลของการเผยแพร่พุทธศาสนากฎหมายลักษณะพยานของไทยจึงดำเนินตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของมโนสาราจารย์
ในระยะแรกๆ ก็ยังไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นแต่อาศัยจารีตประเพณียึดถือสืบต่อกันมาครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ราว พ.ศ. 1894 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะพยานเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นกฎหมายลักษณะพยาน
พ.ศ. 1894 นี้ใช้ต่อกันมาถึง 500 ปีเศษ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
บทบัญญัติในกฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ. 1894 นี้ได้วางรูปแบบเป็นระบบกล่าวหา8 แต่ในบางสมัยก็มีวิธีการของระบบไต่สวนแทรกเข้ามาใช้บ้าง เช่น
ในวิธีพิจารณาแบบจารีตนครบาล มีการเฆี่ยนถามคำให้การโจร
ตบปากคู่ความจำขื่ผู้ขัดหมาย
ประมูล สุวรรณศร, เรื่องเดิม, หน้า 5,
โอสถ
โกศิน, คำอธิบายและเปรียบเทียบกฎหมายไทยและต่างประเทศ
ในเรื่องกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม,
2517) หน้า 4
เป็นต้น ต่อมาใน ร.ศ. 113 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงประกาศยกเลิกกฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ. 1894
และได้มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะพยาน ร.ศ. 113 แทนเพราะทรงเห็นว่ากฎหมายเก่าล้าสมัยไม่สมกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง
และต่อมาใน ร.ศ.115 ก็ทรงประกาศยกเลิกวิธีพิจารณาโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล โดยทรงเห็นว่า “การที่ชำระซักฟอกผู้ต้องหาว่าเป็น
โจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาลนั้น
ยังเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียในกระบวนพิจารณาได้มาก
เพราะผู้พิพากษาอาจจะพลาดพลั้ง หลงลงอาญาแก่ผู้ไม่ผิด
และในที่สุดแม้ถ้อยคำซึ่งผู้ต้องอาญาจะให้การประการใด ก็ฟังไม่ได้ ด้วยถ้อยคำเช่นนั้นอาจจะเป็นคำสัตย์จริง
ฤาคำเท็จซึ่งจำต้องกล่าวเพื่อให้พ้นทุกข์เวทนาและทรงพระราชดำริว่า
หลักฐานในการพิจารณาอรรถคดีโดยยุติธรรม ก็ต้องอาศัยสักขีพยานเป็นใหญ่กว่าสิ่งอื่น9 ตั้งแต่นั้น
ระบบวิธีพิจารณาของไทยก็เข้าสู่ระบบการค้นหาความจริงโดยอาศัยพยานหลักฐานมาจนถึงทุกวันนี้
พระราชบัญญัติลักษณะพยาน ร.ศ. 113
มีหลักการส่วนใหญ่มาจากกฎหมายของอังกฤษนับได้ว่าเป็นการปฏิวัติขั้นแรกให้กฎหมายลักษณะพยานของไทยเข้าสู่ระบบสากลหลักใหญ่ของกฎหมายฉบับนี้
โดยสรุปมีดังนี้
1
) ยกเลิกบทบัญญัติที่ห้ามบุคคล 33 ประเภทเป็นพยาน ตามกฎหมายเก่านั้น
มีข้อกำหนดว่าบุคคล 33 ประเภทเป็นอุตริพยาน ห้ามมิให้ศาลรับฟัง เช่น คนหูหนวก คนตาบอด
หญิงโสเภณีหญิงมีครรภ์ ช่างเกือก ฯลฯ แต่ตามกฎหมายลักษณะพยาน ร.ศ. 113 วางหลักใหม่ว่า
บุคคลใดที่มีสติรู้จักผิดชอบและเข้าใจความก็เป็นพยานได้
2) กำหนดเอกสิทธิของบุคคลบางประเภทที่จะไม่ต้องเป็นพยาน
3) กำหนดวิธีการสืบพยานได้ 3 ประการ คือ เดินเผชิญสืบ
เรียกพยานมาสืบในศาลและส่งประเด็นไปสืบ
4) กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาเมื่อพยานไม่มาศาล
5) กำหนดวิธีชี้สองสถานและกะประเด็นนำสืบ
6) กำหนดวิธีการซักถามพยานบุคคล
และการอ้างพยานเอกสาร
7) บทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายนี้10
พระราชบัญญัติลักษณะพยาน ร.ศ. 113 นี้มิได้ถูกยกเลิกโดยกฎหมาย
จึงยังคงมีผลใช้บังคับมาถึงปัจจุบัน แต่บทบัญญัติส่วนใหญ่ของพระราชบัญญัตินี้ได้มีการนำมาบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว
จึงไม่ใคร่มีการอ้าง
พระราชปรารภในพระราชบัญญัติยกเลิกวิธีพิจารณาโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล ร.ศ. 115
โอสถ โกศิน, เรื่องเดิม, หน้า
อิงถึงพระราชบัญญัติลักษณะพยาน
ร.ศ.113 อีก
แต่เรื่องใดที่มิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาย่อมนำบทบัญญัติในพระราชบัญญัติลักษณะพยาน
ร.ศ. 113 มาบังคับได้ เช่น วิธีการสืบพยานที่เป็นคนหูหนวก หรือเป็นใบ้ เป็นต้น
ระบบกฎหมายลักษณะพยานของไทย
มีปัญหาที่เป็นข้อโต้แย้งกันในหมู่นักนิติศาสตร์ของไทยมานานแล้ว
คือปัญหาว่าระบบกฎหมายลักษณะพยานปัจจุบันของไทยเป็นระบบกล่าวหา
หรือระบบไต่สวนนักนิติศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ากฎหมายลักษณะพยานของไทยเป็นระบบกล่าวหามาโดยตลอด
ตั้งแต่เริ่มมีการจัดระเบียบการศาลยุติธรรมตามแบบสากล
ทั้งนี้เพราะเสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ซึ่งเป็นบรมครูของนักกฎหมายในประเทศไทย ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายมาจากประเทศอังกฤษ11 แต่ก็มีนักนิติศาสตร์บางท่านเห็นว่า
มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหลายมาตรา เช่น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95
(2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 116
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 229 ที่ให้อำนาจศาลอย่างกว้างขวางในการรับฟังหรือดำเนินการสืบพยานซึ่งเป็นลักษณะไต่สวน
ทำให้ระบบกฎหมายของไทยน่าจะเป็นระบบผสม ซึ่งมีเนื้อหาค่อนไปทางระบบไต่สวน12
ความเห็นของนักนิติศาสตร์ฝ่ายหลังน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า
คือ เห็นว่าระบบกฎหมายลักษณะพยานของเราน่าจะร่างขึ้นตามแบบของระบบไต่สวน
ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 (2) ซึ่งให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้อย่างกว้างขวาง
โดยมิได้บัญญัติถึงข้อยกเว้น ของพยานบอกเล่าลงไปให้ชัดแจ้ง
หรือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 116 ที่ให้อำนาจศาลถามพยานได้เองก่อนคู่ความทุกฝ่าย
หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86,
119 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 ซึ่งให้อำนาจศาลให้การเรียกพยานมาสืบโดยพลการ
หรืออาจสืบพยานที่คู่ความนำมาสืบเพิ่มเติมตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้
ซึ่งลักษณะเหล่านี้ตรงข้ามกับความคิดรากฐานของระบบกล่าวหาที่ว่า
ผู้พิพากษาจะต้องวางตัวเป็นกลางโดยสิ้นเชิง
จึงน่าเชื่อว่าผู้ร่างกฎหมายคงมีความประสงค์จะให้อำนาจศาลที่จะเข้ามาช่วยคู่ความค้นหาข้อเท็จจริงตามระบบไต่สวน
แต่มีการนำบทบัญญัติบางประการของระบบกล่าวหามาบัญญัติไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของจำเลย
ดังนั้น ตัวบทกฎหมายลักษณะพยานของเราจึงน่าจะเป็นระบบผสมที่ค่อนไปทางระบบไต่สวนมากกว่า
0 comments:
Post a Comment